การใช้ประโยชน์จาก การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช (Applications of Plant Tissue Culture)

 

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช (Plant Tissue Culture)

 

การใช้ประโยชน์จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช

– ทำให้สามารถเพิ่มจำนวนต้นพันธุ์พืชที่ต้องการในปริมาณอันมากในเวลาอันรวดเร็วได้
– ทำให้สามารถผลิตต้นพืชที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนต้นที่เป็นต้นแบบได้
– ทำให้สามารถผลิตต้นพืชจำนวนหลายๆต้นที่มีขนาดสม่ำเสมอกันได้

– ทำให้สามารถผลิตต้นพืชที่ปราศจากโรคได้
– ทำให้สามารถเก็บรักษาพันธุ์พืชพื้นเมืองที่มีอยู่เดิม พันธุ์พืชหายาก พันธุ์พืชที่ใกล้สูญพันธุ์ พันธุ์พืชที่มีลักษณะที่ดี พันธุ์พืชที่มีลักษณะที่ต้องการ หรือพันธุ์พืชที่แลกเปลี่ยนระหว่างประเทศได้
– ทำให้สามารถใช้ปรับปรุงพันธุ์พืชได้
– ทำให้สามารถผลิตยาหรือสารเคมีที่ได้จากพืชได้
– สามารถใช้ประโยชน์เพื่อการสกัดสารจากต้นพืชเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆได้
– ทำให้สามารถผลิตพันธุ์พืชที่มีความต้านทานหรือทนทานได้ เช่น พันธุ์พืชที่ทนต่อดินเค็ม หรือ ดินเปรี้ยว, พันธุ์พืชที่ทนต่อสภาพอากาศร้อนหรือหนาว, พันธุ์พืชที่ทนต่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืช, พันธุ์พืชที่ทนต่อโรคต่างๆและสารพิษต่างๆที่เกิดจากพวก เชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส
– ทำให้สามารถผลิตโปรโตพลาสหรือโพรโทพลาส (protoplasts) ได้
– ทำให้สามารถผลิตพืชที่มีโครโมโซม(chromosome) หลายชุด (polyploids) ได้

—————————————————————————————————————————————————————————————————————————————-

ที่มา : http://www.thaibiotech.info

ใส่ความเห็น