เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในงานโลหะ

งานโลหะเป็นงานที่หนักมากลักษณะการทำงานมีทั้งงานในร่มและกลางแจ้ง สถานที่ปฏิบัติงานมีทั้งที่ต่ำและที่สูง   โดยเฉพาะงานโครงสร้างหลังคาที่ ใช้เหล็กเป็นโครงสร้างประกอบเพราะมีความคงทน  แข็งแรงสูง  แทนวัสดุต่าง ๆ  เช่น ไม้  ซึ่งนับวันจะหาได้ยาก ลักษณะที่ดีของช่างโลหะจะต้องเป็นผู้มีความขยัน อด ทน  สู้งานเป็นพิเศษ  มีความรอบรู้เกี่ยวกับวัสดุโลหะต่าง ๆ  เป็นอย่างดีมีประสบการณ์   มีทักษะจากการปฏิบัติงานจนเกิดความชำนาญ  อ่านแบบและออกแบบคิดคำนวณได้อย่าง ถูกต้อง  มีความรับผิดชอบต่องาน  ละเอียด  รอบคอบ ประณีตและประหยัด

เครื่องเรือน  อุปกรณ์เครื่องใช้ที่ทำมาจากโลหะนั้นมีหลายชนิดด้วยกันเช่น ทำมาจากเหล็ก อลูมิเนียม สังกะสี ทองแดง ทองเหลือง สแตนเลส ฯลฯ อุปกรณ์เหล่านั้นอยู่ในรูปการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป เช่น ก๊อกน้ำ กระทะ  หม้อ มีด พร้า เครื่องมือต่าง ๆ เช่น เลื่อย ประแจ คีม ค้อน ฯลฯ โดยผลิตขึ้นในรูปแบบต่างๆ ให้สอดคล้องเหมาะสมกับการใช้งานที่ต้องการ และอุปกรณ์เครื่องใช้โลหะทุกอย่าง เมื่อใช้นานวันย่อมมีการชำรุดเสียหายต้องบำรุงรักษา เพื่อให้ใช้งานต่อไปได้อีก งานโลหะบางชนิด เช่น งานโลหะแผ่นสามารถนำมาสร้างสรรค์เป็นเครื่องใช้เครื่องตกแต่งภายในบ้าน ได้ ลักษณะงานโลหะที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันได้แก่เครื่องมือที่ใช้ในการ ซ่อมแซมดัดแปลงและผลิตใน การบัดกรี การย้ำหมุดและการเชื่อมโลหะ

1. การบัดกรีและการย้ำหมุด

การบัดกรีและย้ำหมุดเป็นกระบวนการต่อโลหะแผ่นที่นิยมใช้มากที่สุด  ทั้งนี้  ต้องศึกษาวิธีการที่จะทำให้มีความแข็งแรงและสวยงาม  ตามความต้องการใช้งานแต่ละงานด้วย  การบัดกรีเป็นการต่อโลหะให้ติดกันโดยวิธีการทำให้โลหะที่ใช้เป็นตัวเชื่อม ประสานหลอมละลายแล้วแทรกตัวประสานให้โลหะติดกัน  ส่วนการย้ำหมุดจะใช้วัสดุที่มีลักษณะเป็นหมุดสอดผ่านรูเจาะของโลหะแผ่นที่จะ ยึดติดกัน  แล้วทำการย้ำให้ยึดแน่น

การบัดกรี

การบัดกรี (Soldering) คือ การต่อโลหะชิ้นงานให้ยึดติดกันด้วยโลหะบัดกรี โดยอาศัยความร้อนที่ได้จากการเผาหัวแร้งให้ร้อน หลอมละลายตัวประสานที่มีจุดหลอมละลายต่ำ โดยที่โลหะชิ้นงานจะไม่เกิดการหลอมละลาย เช่น การบัดกรีรางน้ำฝน เป็นต้น

การย้ำหมุด (Riveting)  เป็นการทำให้ชิ้นงานติดกันโดยการย้ำหมุด

การย้ำรีเวท คือการดึงลูกรีเวท ให้ขาด โดยคีมย้ำ จะดึงส่วนก้านให้ขาดออกมา โดยการดึงแล้วส่วนหัวจะถูกดึงมาหนีบแผ่นบาง ๆ สองแผ่น ที่เราต้องการย้ำให้ติดกัน ให้แน่น ถ้าเราต้องการจะใช้ เพื่อยึดแผ่นอะไรสักอย่าง เข้าหาท่อนไม้ อย่างนี้ไม่น่าใช้รีเวท ต้องใช้สกรูขัน หรือตะปูตอกเอา รีเวทต้องย้ำแผ่นบาง ๆ ติดกันเท่านั้น
เครื่องมือและอุปกรณ์ในงานบัดกรีและงานย้ำหมุดด้วยรีเวท (Pop Rivet)

หัวแร้งบัดกรีไฟฟ้า

ตะกั่วบัดกรี

น้ำยาประสาน(น้ำกรดบัดกรี)

คีมย้ำหมุด  (Hand Rivet Pliers) ใช้สำหรับย้ำหมุดแบบป็อปรีเวท (Pop Rivet) สามารถย้ำหมุดได้รวดเร็ว ถอดเปลี่ยนหัวสำหรับขนาดของหมุดได้ ส่วนด้ามคีมย้ำหมุดสามารถหมุนได้รอบตัว เพื่อให้ง่ายในการย้ำในที่มีลักษณะต่าง ๆ ได้

ตัวรีเวท (Pop Rivet)

แสดงวิธีการย้ำรีเวท

2. งานเชื่อมไฟฟ้า

เครื่องมือที่ใช้ในการซ่อมแซมดัดแปลงและผลิตใน งานเชื่อมไฟฟ้า อุปกรณ์ในงานเชื่อมไฟฟ้ามีดังนี้

1. เครื่องเชื่อมไฟฟ้า(ชนิดกระแสสลับ : A.C. Welding Machine)

2. หัวจับลวดเชื่อม (Electrode Holder)

3. สายเชื่อม (Welding Cable)

4. ปากกาคีบสายดิน (Ground Clamp)

5. หน้ากากเชื่อม (Welding Helmet)

6. ถุงมือ (Gloves)

7. ค้อนเคาะสแลค (Punch)

8. แปรงลวดขัดรอยเชื่อม ( Wire Brush)

9. ลวดเชื่อมไฟฟ้า (Electrode)

3. งานเชื่อมแก็ส

เครื่องมือที่ใช้ในการซ่อมแซมดัดแปลงและผลิตใน งานเชื่อมแก็ส อุปกรณ์ในงานเชื่อมแก็สมีดังนี้

1. ถังก๊าซออกซิเจนและถังกาซอะเซทิลีน (Oxygen Cylinder & Acetylene Cylinder)

2. อุปกรณ์ปรับความดันก๊าซ (Pressure Regulator)

3. หัวเชื่อมก๊าซ (Welding Torch)

4. หัวทิพเชื่อม (Welding Tip)

5. สายยางเชื่อม (Hose)

6. แว่นตาเชื่อม (Welding Goggle)

7. ทีจุดไฟ (Lighter)

8. ลวดเชื่อมก๊าซ (Rod)

ในการทำงานซ่อมแซม บำรุงรักษาเกี่ยวกับงานโลหะ  ได้แก่

–       งานถอดประกอบชิ้นส่วน

–       งานร่างแบบ

–       งานประสานวัสดุโลหะ

–       งานตัดเฉือนโลหะ

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในงานโลหะ นอกจากเครื่องมือที่เป็นเครื่องมือทั่วไปที่มีใช้ประจำบ้านแล้ว ได้แก่ ตลับเมตร ค้อน ไขควง ฉาก บรรทัดเหล็ก คัตเตอร์ เลื่อยตัดเหล็ก ตะไบ สว่าน แล้ว ยังมีเครื่องมือที่จำเป็นใช้ในงานโลหะอื่นอีก ดังนี้

1. กรรไกรตัดโลหะ

เป็นเครื่องมือตัดที่นิยมในงานโลหะแผ่น และในงานอลูมิเนียม แบ่งออกเป็น 5 ชนิด คือ

1.1  กรรไกรตัดตรง  (Straight Snips) ใช้สำหรับตัดตรง ใบตัดมีขนาด ตั้งแต่ 5 – 12   เซนติเมตร สามารถตัดโลหะแผ่นได้ถึงเบอร์  18

1.2  กรรไกรแบบผสม (Combination Snips) สามารถตัดได้ทั้งตรงและโค้ง มีขนาด 5 – 12 เซนติเมตร สามารถตัดโลหะแผ่นหนาถึงเบอร์ 24

1.3  กรรไกรตัดโค้ง  (Circle Snips) ใบมีดมีลักษณะโค้ง ใช้ตัดโค้ง ได้เพียงอย่างเดียวเหมาะสำหรับตัดโค้งวงกลม สามารถตัดโลหะแผ่นหนาถึงเบอร์ 22

1.4 กรรไกรแบบโทรเจน (Trojan Snips) ลักษณะใบตัดจะเล็กยาว สามารถสอดเข้าไปตัดในที่แคบ ๆ ได้ ตัดได้ทั้งแนวตรงและแนวโค้ง สามารถตัดโลหะแผ่นหนาถึงเบอร์ 20

1.5 กรรไกรอวิเอชั่น (Aviation Snips) จะมีขนาดเดียวคือ ความยาวประมาณ 25 เซนติเมตรสามารถตัดโลหะแผ่นได้หนาถึงเบอร์ 16 เป็นกรรไกรที่นิยมใช้กันมาก เพราะสามารถตัดแผ่นได้หนา มีอยู่ 3 แบบ และเพื่อจำได้ง่ายจึงจำแนกด้วยสี

ด้ามสีเขียว : ตัดซ้าย

ด้ามสีเหลือง : ตัดตรง

ด้ามสีแดง : ตัดขวา

3. ค้อนยางและค้อนพลาสติก

ค้อนยางเป็นเครื่องมือบางชนิด เพื่อรักษาสภาพพื้นผิวของชิ้นงานหรือเครื่องมือไว้ ค้อนยางสังเคราะห์เนื้อแข็งอย่างดี หัวกลม

ค้อนพลาสติกเป็นเครื่องมือที่ส่วนหัวเป็นพลาสติกใช้สำหรับ เคาะ ตอก ทุบ ตี ชิ้นงานหรือเครื่องมือบางชนิด เพื่อรักษาสภาพพื้นผิวของชิ้นงานหรือเครื่องมือไว้ค้อนพลาสติกเนื้อแข็ง อย่างดีหัวกลมสามารถถอดออกได้

4. ลูกกลิ้งมุ้งลวด เครื่องมือสำหรับ เอาไว้กลิ้งให้มุ้งลวด ลงร่องก่อนอัดยางในร่องมุ้งลวด

สรุป

งานโลหะเป็นงานช่างที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์  ในการสร้างหรือผลิตนงานโลหะ และการซ่อมแซม ปรับปรุง และแก้ไขชิ้นงาน อุปกรณ์ลือใช้สอยต่าง ๆ ที่มีอยู่ เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ได้เหมือนเดิมนั้น จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และยังเป็นการฝึกทักษะการทำงานช่างโลหะ เพื่อเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพต่อไป

——————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————

ที่มา : http://www.vcharkarn.com

ใส่ความเห็น